เทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ : www.nongwaengcity.go.th

 
 
ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาตำบลหนองแวง

      เทศบาลตำบลหนองแวงเป็น 1 ใน 7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอละหานทราย ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลหนองแวงเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม  2550

     เทศบาลตำบลหนองแวง ตั้งอยู่บนพื้นที่ 216 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 135,000 ไร่  มีสภาพพื้นที่เป็นที่สูงสลับที่ราบ และที่ลุ่มน้ำท่วมขัง เป็นดินร่วนปนทรายมีภูเขาตามแนวชายแดน ไทย-กัมพูชา คือเทือกเขาบรรทัด มีพื้นที่ป่าเป็นป่าไม้อุทยานแห่งชาติตาพระยา ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลหนองแวง เคยเป็นป่ามาก่อน ปัจจุบันที่เห็นเป็นชุมชนอยู่อาศัยหรือเทือกสวนไร่นาของเกษตรกรนั้นได้รับการจัดสรรเป็นที่ทำกิน

     เทศบาลตำบลหนองแวงมีแหล่งน้ำธรรมชาติ 6 สาย ได้แก่ ลำปะเทีย ห้วยดินทราย ห้วยหินขาด ห้วยกระจ้อน ห้วยเปี่ยมผิว ห้วยลำจังหัน ไม่นับรวมแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นอีกหลายแห่ง
เทือกเขาบรรทัดทอดยาวตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งตระหง่านบนรอยต่อแผ่นดิน 2 ผืนไว้ด้วยกันไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่วันกี่เดือนกี่ปี เทือกเขาบรรทัดยังคงตระหง่านผ่านร้อนหนาวราวกับเทือกเขาบรรทัดกำลังเฝ้ามองวิถีชีวิตของผู้คนเบื้องล่าง ชาวบ้านชาวชุมชนรุ่นแรกของเทศบาลตำบลหนองแวงแห่งนี้เคยอาศัยบนผื่นดินที่ถูกจัดตั้งเป็นหมู่บ้านบาระแนะเมื่อปี 2502 เนื่องด้วยหมู่บ้านบาระแนะเป็นหมู่บ้านที่มีอาณาเขตติดกับแนวชายแดนไทย-กัมพูชา มีกรณีพิพาทเรื่องเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ

     ทางการไทยได้เข้าไปพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนปี 2516 มีการก่อตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนละหานทรายขึ้น เพื่อเป็นเหมือนรั้วของประเทศ  แต่วิถีชีวิตตรงแนวชายแดนไม่อนุญาตให้ชาวบ้านอาศัยอย่างสงบสุข ปี 2519 ได้มีการก่อตั้ง “ไทยบาระแนะป้องกันชาติ” ขึ้น

     ปีต่อมาสถานการณ์โลกในขณะนั้นก็เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตรวมถึงรกรากของลูกหลานในปัจจุบันในตอนนั้นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ร่วมมือกับกลุ่มเขมรแดงร่วมกันตีหมู่บ้านบาระแนะ ชาวบ้านหลายคนถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม บางคนถูกกวาดต้อนไปยังกัมพูชามีอีกมากที่ถูกล่อลวงไปกับคลื่นขบวนมนุษย์

     ทิ้งซากปรักหักพังของสงครามไว้เบื้องหลัง และกองขี้เถ้าที่เคยเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนละหานทราย
ท่ามกลางการต่อสู้ทางอุดมการณ์ในตอนนั้น ปี 2524 ทางการไทยได้โยกย้ายชาวบ้านที่เคยอาศัยในหมู่บ้านบาระแนะที่เหลือรอดจากเหตุการณ์คราวนั้นอพยพย้ายไปยังพื้นที่ใกล้เคียง นั่นคือ 4 หมู่บ้านในเทศบาลตำบลหนองแวงในปัจจุบันได้แก่ บ้านหนองแวง บ้านหงอนไก่ บ้านหนองหว้า และบ้านหนองตาเยา โดยให้เหตุผลว่าพื้นที่ในหมู่บ้านบาระแนะเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ในการปกป้องดินแดน

     ในตอนนั้นชาวบ้านที่อาศัยอยู่บาระแนะต่างไม่ต้องการย้ายถิ่นฐานไปยังที่อื่น ด้วยได้ลงทุนการทำเกษตรไปมากน้อยต่างกันไป แต่ทางการไทยก็ได้จัดสรรที่ดินให้แก่แต่ละครอบครัวที่ประสงค์จะอพยพย้ายมาอยู่ยัง 4 หมู่บ้าน จัดสรรให้ครอบครัวละ 1 ไร่ และที่ทำกินครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ ในตอนนั้นชาวบ้านยังไม่พอใจเนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ไม่ดีเท่าหมู่บ้านบาระแนะ เนื่องด้วยพื้นที่ในหมู่บ้านทั้ง 4 เป็นที่ลาดชัน ดินไม่มีความอุดมสมบูรณ์
จัดสรรให้ครอบครัวละ 1 ไร่ และที่ทำกินครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ ในตอนนั้นชาวบ้านยังไม่พอใจเนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ไม่ดีเท่าหมู่บ้านบาระแนะ เนื่องด้วยพื้นที่ในหมู่บ้านทั้ง 4 เป็นที่ลาดชัน ดินไม่มีความระยะเวลาได้ผ่านไป เทือกบรรทัดยังคงตั้งตระหง่าน วิถีชีวิตเคลื่อนเปลี่ยนไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า จนพื้นที่บริเวณนี้กลายเป็นเทศบาลตำบลหนองแวงในปัจจุบัน

     ประชากรรุ่นแรกของชุมชนในเทศบาลตำบลหนองแวงปัจจุบันก็คือชาวบ้านที่เคยอพยพมาจากศรีสะเกษ สุรินทร์  มหาสารคาม  และจังหวัดกาฬสินธุ์ ตำบลหนองแวงเป็นศูนย์รวมของประชาชนหลากหลายวัฒนธรรม โดยมีประชาชนดั้งเดิมที่ใช้ภาษาถิ่นเป็นภาษาเขมร และประชาชนอพยพย้ายถิ่นฐานที่ใช้ภาษาถิ่นเป็นภาษาลาว ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ไม่ได้สร้างอุปสรรคในการดำรงชีวิตให้แก่ผู้คนบนพื้นที่บาระแนะสืบเนื่องมาถึงชาวชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหนองแวงไม่ว่ามาจากที่ไหน เป็นใคร เมื่อมาอาศัยอยู่ร่วมกันต้องหันหน้าพูดคุยกัน  "ทางด้านวัฒนธรรมหรือประเพณีของชาวชุมชนหนองแวงซึ่งมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์นั้น"  "ส่วนมากจะเป็นวัฒนธรรมลาว เพราะในสมัยแรกเริ่มของการตั้งชุมชน ชาวลาวที่อพยพมาจากจังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์จะเป็นปราชญ์ชาวบ้าน เป็นผู้นำทางวัฒนธรรม เป็นผู้นำในการประกอบพิธีทางศาสนารวมถึงประเพณีต่างๆ" สำหรับวัฒนธรรมทางเขมรก็ยังคงดำรงอยู่